เงื่อนไขของประกันสุขภาพไม่ต้องสำรองจ่าย สแกนไวตัดสินใจได้เร็ว

ประกันสุขภาพไม่ต้องสำรองจ่าย

Categories :

เมื่อทำประกันสุขภาพไประยะหนึ่งแล้ว แม้จะเข้าใจเงื่อนไขต่าง ๆ แต่บางครั้งเหตุฉุกเฉินอาจเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาดคิด หรือขั้นตอนการเคลมประกันหน้างานต้องรอตามระบบ ทำให้ต้องสำรองจ่ายไปก่อน จึงเกิดความไม่เข้าใจว่า ทำไมทำประกันสุขภาพไม่ต้องสำรองจ่ายไปแล้วยังต้องสำรองจ่ายไปก่อน บางกรณีการสำรองจ่ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทประกัน หรือถ้ายังทำประกันได้ไม่นาน ทางโรงพยาบาลต้องใช้เวลาเช็กสิทธิก่อน จึงมีเงื่อนไขที่ควรรู้หากไม่ต้องการสำรองจ่าย

ประกันสุขภาพไม่ต้องสำรองจ่าย กับประเภทการรักษาที่กำหนดเงื่อนไข

ความเจ็บป่วยมีหลายรูปแบบ ความฉุกเฉินในการรักษาก็ไม่เท่ากันในแต่ละกรณี ประกันสุขภาพไม่ต้องสำรองจ่ายจึงขึ้นอยู่กับประเภทผู้ป่วย เนื่องจากระยะเวลาที่ใช้รักษาส่งผลต่อขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลและการเช็กสิทธิประกันที่มีอยู่ด้วย โดยมักแบ่งตามประเภทของผู้ป่วย ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. ผู้ป่วยใน หรือ IPD

ผู้ป่วยใน คือผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่าจำเป็นต้องพักรักษาอยู่ในโรงพยาบาล มักเป็นกรณีที่อาการบาดเจ็บอยู่ในระดับร้ายแรง หรือโรคที่เจ็บป่วยนั้นต้องอาศัยการรักษาที่ซับซ้อน เช่น การผ่าตัด การให้ยาต่อเนื่องและเฝ้าดูอาการ การใช้เครื่องมือพยุงชีวิต เป็นต้น ถ้าเป็นกรณีที่แพทย์ไม่ได้วินิจฉัยว่าต้องนอนโรงพยาบาลแต่ผู้ป่วยขอพักรักษาในโรงพยาบาลเอง อาจส่งผลต่อการสำรองจ่าย

  1. ผู้ป่วยนอก หรือ OPD

ผู้ป่วยนอก คือผู้ป่วยที่สามารถรักษาได้โดยไม่จำเป็นต้องนอนพักในโรงพยาบาล ส่วนมากเป็นโรคทั่วไปที่ทานยาแล้วพักผ่อนก็หายเองได้ แต่ต้องได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องก่อน เช่น ท้องร่วง อาหารเป็นพิษ ปวดศีรษะ มีอาการแพ้เฉียบพลันแต่ไม่รุนแรง เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันก็มีแบบประกันสุขภาพไม่ต้องสำรองจ่ายในกรณีผู้ป่วยด้วย

ประกันสุขภาพไม่ต้องสำรองจ่าย

ประกันสุขภาพไม่ต้องสำรองจ่าย ใช้ในกรณีใดได้บ้าง

ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในมีขั้นตอนเบิกจ่ายค่ารักษาต่างกัน แต่ถ้าอยู่ในกรณีเร่งด่วนที่ไม่สามารถรอประกันได้ ผู้ทำประกันอาจเลือกสำรองจ่ายไปก่อนแล้วค่อยเบิกทีหลัง นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขประกันสุขภาพไม่ต้องสำรองจ่ายอื่น ๆ ที่ต้องอาศัยดุลยพินิจเป็นรายกรณี เช่น อายุประกันยังไม่ถึง 2 ปี มีข้อมูลบางอย่างที่ผู้เอาประกันยังให้ไม่ครบถ้วน ตัวแทนประกันมีความสงสัยในประวัติการรักษา เป็นต้น แต่ถ้าทำประกันกับบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ ตรวจสอบข้อมูลได้แม่นยำและรวดเร็ว เมื่อเข้าเงื่อนไขเหล่านี้ก็ไม่จำเป็นต้องสำรองจ่าย

  1. เข้ารักษากับโรงพยาบาลในเครือข่าย

หากเจ็บป่วยแล้วรีบเข้ารักษาในโรงพยาบาล แต่ไม่ใช่โรงพยาบาลคู่สัญญาในเครือข่ายบริษัทประกัน จะต้องเสียเวลาเช็กสิทธิและดำเนินเรื่องจนกว่าขั้นตอนจะครบถ้วน แต่ถ้าเข้ารักษาในโรงพยาบาลคู่สัญญาในเครือข่าย สามารถรับการรักษาได้ทันทีโดยไม่ต้องสำรองจ่าย หากเงื่อนไขอื่น ๆ ของประกันสุขภาพไม่ต้องสำรองจ่ายครบถ้วนตามอายุสัญญาและระยะเวลารอคอยเพื่อเอาประกัน

  1. เจ็บป่วยทั่วไป ไม่เร่งด่วน

หากเจ็บป่วยทั่วไปตั้งแต่ปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้ อาหารเป็นพิษ แล้วมีสิทธิประกันสุขภาพอยู่แล้ว สามารถแอดมิทโรงพยาบาลได้เลยโดยไม่ต้องสำรองจ่าย หลังจากแอดมิทเรียบร้อยแล้ว ทางโรงพยาบาลจะนำหลักฐานคือ บัตรประกันสุขภาพที่คุณพกติดตัวไปดำเนินเรื่องเบิกจ่ายกับทางบริษัทประกัน ไม่ต้องขอเช็กสิทธิประกันก่อนได้รับการรักษา ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าช่วงที่ไปโรงพยาบาลนั้นพ้นระยะรอคอยไปแล้วหรือยัง

จะเห็นได้ว่าประกันสุขภาพไม่ต้องสำรองจ่ายไม่ได้มีเงื่อนไขที่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ปัจจัยสำคัญคือระยะเวลาและระดับความฉุกเฉินของอาการเจ็บป่วย หากมีเงื่อนไขครบตามที่แผนประกันสุขภาพกำหนด และที่สำคัญคือวางแผนเลือกสถานพยาบาลในเครือเอาไว้เรียบร้อยแล้ว การดำเนินการต่าง ๆ ก็จะสะดวกมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ แม้ประกันจะมีประสิทธิภาพในการรองรับความเสี่ยงมากแค่ไหน การป้องกันตนเองไม่ให้เกิดความเสี่ยงย่อมดีที่สุด